ข่าวสาร
สภาดิจิทัลฯ เปิดเวที Clubhouse เสวนาชูประเด็น “การเรียนรู้ที่ตรงกับเทรนด์อาชีพดิจิทัล โดยสภาดิจิทัลฯ
22 มี.ค. 2564

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา สภาดิจิทัลฯ จัดเสวนา Clubhouse Application ชูประเด็น “การเรียนรู้ที่ตรงกับเทรนด์อาชีพดิจิทัล โดย สภาดิจิทัลฯ" สร้างเวทีแสดงข้อคิดเห็นในประเด็นเทรนด์อาชีพดิจิทัลกับการเติมเต็มการเรียนรู้ให้ทันโลกการทำงานในอนาคต (Digital career trend and fill-in the future of education) มุ่งเน้นภาพรวมด้านหลักสูตรการเรียนรู้ ที่จะนำไปสู่การนำความรู้ไปใช้ในการทำงานในชีวิตจริงผ่านมุมมองภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลในด้านความต้องการด้านอาชีพดิจิทัลของตลาดแรงงานในอนาคต มุมมองมหาวิทยาลัยในการเตรียมวางแผนด้านหลักสูตร รวมถึงการเตรียมพร้อมในด้านการเรียนให้กับนักศึกษา และมุมมองของนักศึกษาในการนำแนวคิดและประสบการณ์จริงจากการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้วงสนทนา ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่าจะเป็น คุณเขมนรินทร์ รัตนาอัมพวัลย์ รองประธานและประธานพันธกิจด้านการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ สภาดิจิทัลฯ, คุณปฐม อินทโรดม กรรมการสภาดิจิทัลฯ, ดร.อธิป อัศวานันท์ ผู้อำนวยการสภาดิจิทัลฯ, คุณอรดา วงศ์อำไพวิทย์ ผู้ช่วยประธานสภาฯ และหัวหน้าฝ่ายกฎหมายสภาดิจิทัลฯ, ดร. ณวัฒน์ คำนูณวัฒน์ ผู้ดูแลโครงการพันธกิจ ศูนย์กลางนวัตกรรมระดับภูมิภาค สภาดิจิทัลฯ พร้อมร่วมพูดคุยแบบครบทุกมิติจากสถาบันและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอาชีพด้านดิจิทัลและการสร้างบุคลากร เพื่อให้มีความพร้อมต่อการทำงานในภาคอุตสาหกรรมในอนาคต ได้แก่ รศ. ดร. เชฏฐ์เนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.รังสิต, ผศ. ดร. เหมือนหมาย อภินทนาพงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ม.หอการค้าไทย, ผศ. ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี ม.ศรีปทุม, คุณกุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทค อี-บิสสิเนสเซ็นเตอร์ (Thailand e-Business Center) รวมไปถึงน้องๆ นักศึกษาที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์จริงจากการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ได้แก่ นาย จุมพฏ อุสาหะ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (ปี 3) ม.ศรีปทุม นาย วงศกร ศิริสวัสดิ์ นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ปี 4) ม. หอการค้าไทย และนายเจมส์ วุฒิชัยวงสดใส นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ปี 4) ม.หอการค้าไทย

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนายังมีการแสดงข้อคิดเห็นในประเด็นเทรนด์อาชีพดิจิทัล กับหลักสูตรมหาลัยให้ตรงโจทย์ความต้องการของตลาดในมิติต่างๆ อาทิเช่น 10 เทรนด์สาขาอาชีพดิจิทัลที่มีความต้องการสูงในตลาดแรงงานของประเทศไทยในอนาคต ได้แก่ อาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล โปรแกรมเมอร์ นักสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ นักบริหารการจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางด้านเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาเกมส์และอนิเมชั่น นักโครงข่ายปลายทาง นักบริหารโครงการสารสนเทศ นักพัฒนาทางด้าน E-Learning อาชีพทางด้านความคิดสร้างสรรค์ หรือกราฟฟิคดีไซเนอร์ และ นักการตลาด E-Commerce บทบาทของมหาวิทยาลัยในการปรับตัวเปิดรับองค์ความรู้ด้านดิจิทัลเข้าไปยังหลักสูตรระบบการศึกษา การให้ความสำคัญกับเนื้อหาหลักสูตรที่จำเป็นในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถทำงานได้จริงและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ส่วนในมุมมองภาคธุรกิจได้ให้ความสำคัญต่อองค์ความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญในการสร้าง Logical Thinking เพื่อน าไปสู่การต่อยอดพัฒนาทักษะความรู้ความเข้าใจทางด้าน IOT, Big Data, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ด้วยตัวเองของคอมพิวเตอร์ (machine learning) ข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) และด้านหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ซอฟแวร์หุ่นยนต์ (Robotics) เป็นต้น นอกจากนั้น ประเทศไทยยังขาดการใช้ Soft power อย่างเป็นระบบ ควรมีการสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงผลักดันและกระตุ้นให้เด็กรุ่นใหม่หันมาสนใจการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อก้าวสู่อาชีพในอนาคตได้อย่างแท้จริง

คุณเขมนรินทร์ รัตนาอัมพวัลย์ รองประธานและประธานพันธกิจด้านการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ กล่าวว่า ในยุคปัจจุบัน ผลกระทบของการ Disruption ของเทคโนโลยีถือว่าเป็นการท้าทาย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทุกอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เทรนด์อาชีพมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากขึ้นเมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ดังนั้นการสร้างโอกาสการเข้าถึง การยกระดับ และการพัฒนาทักษะใหม่ๆ กับแรงงานทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน จึงมีความสำคัญต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน จากรายงานของ Talent Trend เมื่อปี 2019-2020 เรื่องการ Upskill For Digital World ของ PWC พบว่า 79% ของ CEO ทั่วโลกถูกสำรวจ ได้แสดงความกังวลต่อความขาดแคลนทักษะแรงงานที่จ าเป็นของพนักงานภายในองค์กร ว่าก าลังเป็นภัยคุกคามต่อการเติบโตขององค์กร และเพื่อเป็นการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงการเพิ่มพูนทักษะใหม่ๆ พร้อมทั้งเสริมสร้างทักษะเดิมที่มีอยู่ จึงเป็นทางออกสำหรับภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นสภาดิจิทัลฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการ Reskill – Upskill เพื่อพัฒนาทักษะกำลังคนด้านดิจิทัลให้สอดคล้องกับอาชีพในอนาคต


หนึ่งในพันธกิจหลักของสภาดิจิทัลฯ คือการพัฒนาประเทศไทยให้มีศักยภาพด้านการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมุ่งพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลเป็นสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการศึกษาตัวชี้วัดด้านทักษะบุคลากรของคนในประเทศ โดยสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development : IMD) ได้ประกาศผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประเทศไทยถูกจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลอยู่ในอันดับที่ 39 จากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน พบว่า สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 2 ของโลก เกาหลีใต้เป็นอันดับที่ 8 ฮ่องกงอยู่ในอันดับที่ 5 ส่วนมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 26 ทางสภาดิจิทัลฯ จึงตั้งเป้าเพื่อมุ่งสู่อันดับที่ 25 ภายในปี 2025 ต่อไปอีกด้วย จึงนำมาสู่การจัดงานเสวนา Clubhouse ขึ้นเพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อความต้องการและปัญหาต่างๆ ของประเทศไทย ในประเด็นเทรนด์อาชีพดิจิทัล กับหลักสูตรมหาลัยให้ตรงโจทย์ความต้องการของตลาด โดยสภาดิจิทัลฯ มุ่งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศไทยขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างแท้จริง และสะท้อนออกมาในผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทยต่อไปในอนาคต ดร.อธิป อัศวานันท์ ผู้อำนวยการสภาดิจิทัลฯ กล่าวตอนท้ายการเสวนา


CH02